ผู้เขียน หัวข้อ: Doctor At Home: โรคหัด (Measles)  (อ่าน 9 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 135
    • ดูรายละเอียด
Doctor At Home: โรคหัด (Measles)
« เมื่อ: 20 พฤศจิกายน 2024, 13:40:19 pm »
Doctor At Home: โรคหัด (Measles)

โรคหัด (Measles) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่ระบบทางเดินหายใจ โดยผู้ที่ป่วยจะมีอาการเด่น ๆ คือ เกิดผื่นตามผิวหนังร่วมกับมีไข้ขึ้น ซึ่งในบางกรณี หากไม่ได้รับการดูแลจากแพทย์ ผู้ที่ป่วยอาจมีความเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงและการเสียชีวิตได้

โรคหัดเป็นโรคที่มักเกิดกับเด็ก โดยมีสาเหตุมากจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่มพารามิคโซไวรัส (Paramyxovirus) ซึ่งเป็นไวรัสที่สามารถแพร่เชื้อและติดต่อกันได้จากคนสู่คนผ่านทางอากาศหรือการสัมผัสน้ำมูกและน้ำลายของผู้ป่วยโดยตรง

อาการของโรคหัด

โดยทั่วไปแล้ว อาการจากโรคหัดจะเริ่มแสดงภายใน 14 วันหลังจากได้รับเชื้อไวรัส โดยอาการที่มักพบได้ เช่น

    ระยะเริ่มแรก ผู้ป่วยจะมีไข้ขึ้นสูง ซึ่งจะเริ่มเป็นไข้ประมาณ 10–12 วันหลังได้รับเชื้อ รวมถึงยังมีอาการน้ำมูกไหล ไอบ่อย เจ็บคอ ตาเยิ้มแดง และมีตุ่มคอพลิค (Koplik Spots) หรือตุ่มแดงที่มีสีขาวเล็ก ๆ ตรงกลางขึ้นในกระพุ้งแก้ม
    ระยะเกิดผื่น เมื่อผู้ป่วยออกอาการได้ 3–5 วัน ผู้ป่วยจะเกิดผื่นขึ้นตามร่างกาย ซึ่งคล้ายผื่นคันตามผิวหนัง โดยมักเกิดผื่นแดงหรือสีแดงออกน้ำตาลขึ้นเป็นจุดบนหน้าผากก่อน แล้วค่อยแพร่กระจายมาที่ใบหน้าและลำคอ จากนั้นภายใน 3 วัน ผื่นจะกระจายมาถึงมือและเท้า และจะค่อย ๆ ดีขึ้นและหายไปเอง

ในกรณีทารก เด็ก ผู้ที่ป่วยเป็นวัณโรค มะเร็ง หรือโรคอื่น ๆ ที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอที่พบอาการเข้าข่ายในลักษณะข้างต้น ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการดูแลอย่างใกล้ชิดทันที

ไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า 12  ปีที่ติดเชื้อไวรัสดังกล่าวรับประทานยาแอสไพรินเพื่อลดไข้ เพราะเด็กอาจจะเกิดอาการแพ้ยาที่เรียกว่ากลุ่มอาการราย (Reye’s Syndrome) ซึ่งทำให้ตับและสมองบวม โดยลักษณะอาการดังกล่าว ได้แก่ เด็กจะอาเจียนทันที อ่อนเพลีย หมดความสนใจต่อสิ่งรอบตัว พูดหรือทำอะไรที่แปลกไปจากเดิม และมักนอนซม


สาเหตุของโรคหัด

โรคหัดเกิดจากการรับเชื้อไวรัสผ่านทางอากาศ ซึ่งอาจมาจากการสัมผัสละอองน้ำลาย น้ำลาย และน้ำมูกของผู้ที่ป่วย ซึ่งช่วง 4 วันทั้งก่อนและหลังเกิดผื่นนั้นถือเป็นระยะเวลาของการแพร่เชื้อ โดยเชื้อไวรัสจะเข้ามาทางระบบทางเดินหายใจและแพร่ไปทั่วร่างกาย

ผู้ที่เสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโรคหัดนั้นมีอยู่หลายกลุ่ม แต่อาจพบได้มากในเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัด ซึ่งเด็กในกลุ่มนี้และเด็กที่ไม่ได้รับสารอาหารจำพวกวิตามินเออย่างเพียงพอยังอาจมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงและเสียชีวิตได้อีกด้วย

นอกจากนี้ สตรีมีครรภ์ที่ไม่ได้รับวัคซีนและได้รับเชื้ออาจเสี่ยงต่อการแท้งบุตรหรือคลอดก่อนกำหนดได้ ส่วนผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอเนื่องจากภูมิต้านทานถูกทำลายอย่างผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีและเอดส์ รวมทั้งผู้ที่ขาดสารอาหารนั้น จะป่วยเป็นโรคหัดอย่างรุนแรงเมื่อได้รับเชื้อ


การวินิจฉัยโรคหัด

ในการวินิจฉัยโรคหัด แพทย์จะตรวจดูว่าผู้ป่วยมีอาการผื่นขึ้นและเป็นไข้ร่วมด้วยหรือไม่ และผื่นที่ขึ้นบนผิวหนังนั้นมีลักษณะที่คล้ายโรคหัด (Morbilliform Exanthem) หรือไม่ รวมทั้งพิจารณาอาการอื่น ๆ ที่บ่งชี้โรคหัด ได้แก่ ไอ น้ำมูกไหล เจ็บคอ ตาแดงแฉะ และเป็นตุ่มคอพลิคสีขาวออกน้ำเงินที่ปรากฏภายในกระพุ้งแก้ม

นอกจากนี้ ในผู้ป่วยบางคน แพทย์อาจเจาะเลือดร่วมด้วยเพื่อผลการวินิจฉัยที่แม่นยำ โดยแพทย์จะพิจารณาตามความเหมาะสมต่อผู้ป่วยแต่ละคนเป็นกรณีไป


การรักษาโรคหัด

ในปัจจุบันยังไม่มียาหรือวิธีทางการแพทย์ใดที่ได้รับการระบุว่าสามารถรักษาและกำจัดเชื้อไวรัสของโรคหัดได้อย่างเฉพาะเจาะจง

แต่ผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองให้อาการทุเลาลงได้ด้วยการดื่มน้ำวันละ 6–8 แก้ว พักผ่อนให้เพียงพอเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันร่างกาย อยู่ในที่แห้งและมีอุณหภูมิพอเหมาะเพื่อลดอาการไอและเจ็บคอ และอาจให้วิตามินเอเสริมให้กับร่างกาย ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์

โดยในระหว่างนี้ ผู้ป่วยโรคหัดที่เริ่มมีผื่นขึ้นควรอยู่ในบ้าน งดการไปโรงเรียน ไปทำงาน หรือการพบปะผู้คนตามที่สาธารณะเป็นเวลาอย่างน้อย  4 วันหลังจากผื่นเริ่มปรากฏเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังผู้คนรอบข้าง

อย่างไรก็ดี แพทย์อาจสั่งจ่ายยาลดไข้ที่ไม่ใช่ยาแอสไพรินอย่างยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) และยาพาราเซตามอล (Paracetamol) เพื่อช่วยลดไข้และบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ
ภาวะแทรกซ้อนของโรคหัด

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหัดมักเกิดกับทารกที่อายุต่ำกว่า 1 ปี เด็กที่ขาดสารอาหารและภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ ไปจนถึงวัยรุ่นและผู้ใหญ่ที่สุขภาพไม่ดี โดยภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้มีดังนี้

    ท้องเสียและอาเจียน ซึ่งจะนำไปสู่อาการขาดน้ำ
    หูชั้นกลางติดเชื้อ ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดหู
    ติดเชื้อที่ตา ก่อให้เกิดอาการตาแดงเยิ้มแฉะ
    กล่องเสียงอักเสบ (Laryngitis)
    ปอดบวม หลอดลมอักเสบ หรือกลุ่มโรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจอักเสบ (Croup) เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจและปอด
    ไวรัสตับอักเสบ
    ตาเหล่ หากไวรัสส่งผลกระทบต่อระบบประสาทและกล้ามเนื้อตา
    เยื่อหุ้มสมองอักเสบหรือสมองอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อบริเวณเยื่อหุ้มสมองหรือที่สมอง

ในกรณีของสตรีมีครรภ์ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคหัดและติดเชื้อไวรัสนั้นมีโอกาสเสี่ยงแท้งบุตรหรือทารกเสียชีวิตในครรภ์และคลอดก่อนกำหนด โดยผู้เป็นแม่จะคลอดก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของอายุครรภ์ ทั้งนี้ ทารกอาจจะมีน้ำหนักตัวเมื่อแรกคลอดน้อย

อย่างไรก็ดี ผู้ป่วยสามารถหลีกเลี่ยงอาการแทรกซ้อนบางอย่างได้หากรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์และดื่มน้ำอย่างเพียงพอ โดยแพทย์แนะนำให้รักษาอาการขาดน้ำอันเป็นภาวะแทรกซ้อนหนึ่งของโรคหัดด้วยการจิบน้ำผสมผงละลายเกลือแร่โออาร์เอส (Oral Rehydration Salt) เพื่อบรรเทาอาการดังกล่าว สำหรับอาการติดเชื้อที่ตา หู และระบบทางเดินหายใจสามารถใช้ยาปฏิชีวนะรักษาได้

นอกจากนี้ ในกรณีที่พบได้น้อย ผู้ป่วยโรคหัดอาจพบภาวะแทรกซ้อนดังต่อไปนี้ได้เช่นกัน

    ตาบอด เกิดจากการติดเชื้อที่เส้นประสาทตา ทำให้เกิดโรคประสาทตาอักเสบ (Optic Neuritis) และนำไปสู่ภาวะสูญเสียการมองเห็น
    ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและระบบประสาท
    ภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้สมองเกิดความผิดปกติ (Subacute Sclerosing Panencephalitis: SSPE) โดยจัดเป็นกรณีที่เกิดน้อยมาก พบผู้เกิดภาวะนี้ได้ 1 ใน 25,000 ราย


การป้องกันโรคหัด

โรคหัดป้องกันได้ด้วยการรับวัคซีนป้องกันโรคหัด (Measles Vaccine) ให้ครบตามกำหนด โดยวัคซีนที่ใช้ฉีดเพื่อป้องกันคือวัคซีน Measles–Mumps–Rubella Vaccine (MMR) ซึ่งเป็นวัคซีนที่ป้องกันได้ทั้งโรคหัด (Measles) คางทูม (Mumps) และหัดเยอรมัน (Rubella) โดยทารกสามารถรับวัคซีนได้ครั้งแรกเมื่ออายุครบ  9–12 เดือน และรับวัคซีนครั้งต่อไปเมื่ออายุ 4–6 ปี

ส่วนเด็กวัยรุ่นและผู้ใหญ่ที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน สามารถรับวัคซีนได้ 2 เข็ม โดยเว้นช่วงการรับวัคซีนแต่ละรอบให้ห่างกันอย่างน้อย 28 วัน

อย่างไรก็ตาม การได้รับวัคซีนป้องกันโรคดังกล่าวก็อาจส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงได้บ้าง เช่น เป็นไข้หลังจากได้รับวัคซีน หรือเกิดอาการผื่นขึ้นคล้ายผื่นโรคหัดแต่อาการจะหายไปเอง

หรือในบางกรณี วัคซีนอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ เช่น อาการชัก หูหนวก สมองถูกทำลาย และหมดสติไม่รู้ตัว แต่กรณีดังกล่าวเป็นกรณีที่พบได้น้อย นอกจากนี้ พ่อแม่บางรายยังเชื่อว่าวัคซีนโรคหัดก่อให้เกิดโรคออทิสติก (Autism) ในเด็ก แต่งานวิจัยหลายชิ้นก็ได้พิสูจน์แล้วว่าโรคออทิสติกไม่ได้เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันร่างกายแต่อย่างใด

นอกจากวัคซีนในข้างต้น ยังมีวัคซีน Measles–Mumps–Rubella–Varicella Vaccine (MMRV) ซึ่งนอกจากจะป้องกันโรคทั้ง 3 โรคเช่นเดียวกับวัคซีน MMR แล้ว ยังป้องกันโรคอีสุกอีใสด้วย โดยเด็กอายุตั้งแต่ 12 เดือนจนถึงอายุ 12 ปีสามารถรับวัคซีนตัวนี้ได้

ทั้งนี้ การรับวัคซีนป้องกันโรคหัดก็มีข้อจำกัดสำหรับบุคคลบางกลุ่ม โดยกลุ่มเสี่ยงที่ไม่ควรรับวัคซีนป้องกันโรคหัด ได้แก่

    สตรีมีครรภ์
    เด็กที่ป่วยเป็นวัณโรค ลูคีเมีย และมะเร็งชนิดอื่น ๆ แล้วยังไม่ได้รับการรักษา
    ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ
    เด็กที่มีประวัติแพ้เจลาตินหรือกลุ่มยาปฏิชีวนะนีโอมัยซิน (Neomycin) อย่างรุนแรง

อย่างไรก็ตาม หากผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวได้รับเชื้อไวรัสโรคหัดเข้าไปก็ยังสามารถฉีดแอนติบอดี้หรือสารโปรตีนที่มีชื่อว่าอิมมูนโกลบูลิน (Immunoglobulin) เพื่อป้องกันการป่วยได้ ซึ่งต้องฉีดสารดังกล่าวภายใน 6 วันหลังจากที่รับเชื้อ

 

Tage: โฟสฟรี ประกาศฟรี ลงโฆษณาฟรี google โพสต์ฟรี ลงประกาศขายบ้านฟรี ลงประกาศขายบ้าน ลงประกาศขายที่ดินฟรี ลงประกาศขายคอนโดฟรี ประกาศฟรี ขายฟรี ขายรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารเสริม เครื่องสำอางค์ สถานที่ท่องเที่ยว เว็บประกาศฟรี ติดอันดับ Google