อีกหนึ่งโรคฟันที่เป็นกันมาก ชนิดไม่รู้เนื้อรู้ตัว ก็คือ ‘ฟันร้าว’ ที่ก่อให้เกิดอาการเสียวฟัน โดยเฉพาะช่วงฟันกรามที่ใช้บดเคี้ยวอาหาร แต่ผู้ที่มีอาการมักไม่สามารถชี้ชัดได้ว่าเกิดจากฟันซี่ใด
ปัญหาฟันร้าวมักเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ และจะส่งสัญญาณเตือนเพียงแค่อาการเสียวฟันขณะรับประทานอาหารทั้งร้อนและเย็น ร่วมกับอาการปวดฟันเล็กน้อย จากนั้นราว 12-18 เดือน ฟันซีที่ร้าวจึงจะแตก
สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดฟันร้าวมักเป็นเพราะการเคี้ยวอาหารแข็ง โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ลักษณะของเนื้อฟันและอวัยวะรอบรากฟันจะมีความยืดหยุ่นลดน้อยลง ส่งผลให้ฟันกรอบมากขึ้น ดังนั้นเมื่อมีแรงกดดันแรง ๆ จะทำให้ฟันร้าวและแตกได้ง่าย
สาเหตุต่อมาเกิดจากฟันผุ อาจมีรูโพลงขนาดใหญ่ หรือฟันซี่ที่มีรอยอุดขนาดใหญ่ สภาพดังกล่าวทำให้ฟันไม่แข็งแรงและเสี่ยงต่อการเกิดฟันร้าว
นอกจากนี้ฟันร้าวยังมักเกิดกับฟันซี่ที่มีปุ่มฟันสูงชันและมีร่องลึก ส่วนใหญ่จะพบในฟันกรามน้อย และจะร้าวในแนวดิ่ง รวมทั้งสาเหตุจากแรงกระแทกขณะเกิดอุบัติเหตุหรือเล่นกีฬา รวมทั้งการนอนขบเขี้ยวเคี้ยวฟัน หรือชอบกัดขบฟันบ่อย ๆ
ไม่ว่าจะเป็นอาการหรือสาเหตุของฟันร้าวที่กล่าวไปข้างต้น ก็ยังเป็นปัจจัยที่ผู้คนส่วนใหญ่มักมองข้าม แต่คุณผู้อ่านรู้หรือไม่ว่า เมื่อเกิดอาการเสียวหรือปวดฟันแล้วรีบพบทันตแพทย์เพื่อตรวจจะทำให้ง่ายต่อการรักษาและไม่สูญเสียฟันซี่ที่ร้าว
ส่วนวิธีตรวจหาฟันร้าว ทันตแพทย์จะเช็คโดยการย้อมสีฟัน (Staining) เพื่อให้เห็นความเสียหายชัดเจน บางครั้งอาจต้องใช้แสงจากเครื่องฉายแสงอุดฟันร่วมด้วย
ยังมีวิธีทดสอบโดยให้ผู้ป่วยกัดไม้เนื้อนิ่มแผ่นบาง แผ่นยาง หรือสำลีบนซี่ฟันต้องสงสัย หากเกิดฟันร้าวจริง เมื่ออ้าปากคลายสิ่งที่กัดเอาไว้จะรู้สึกปวดแปลบขึ้นมาทันที ส่วนวิธีเอกซเรย์อาจบอกได้ไม่ชัดเจนเนื่องจากรอยร้าวจะแคบและมีเงาฟันซ้อนทับอยู่ แต่จะแสดงให้เห็นว่ามีการติดเชื้อลุกลามไปสู่รากฟันหรือไม่
สู่การรักษาฟันร้าวจะสัมพันธ์กับระดับความลึกของการร้าว หากฟันร้าวแบบตื้น ๆ ทันตแพทย์จะครอบฟันชนิดชั่วคราวทันที จากนั้นรอดูอาการราว 2-4 สัปดาห์ หากไม่มีความผิดปกติจะทำการรักษาโดยครอบฟันชนิดถาวร
ในทางตรงกันข้าม กรณีที่มีอาการผิดปกติ อาจเป็นข้อบ่งชี้ว่ารอยร้าวลามลงถึงโพรงประสาทฟันแล้ว จะต้องรักษารากฟันก่อนจึงครอบฟัน แต่หากรอยร้าวเกิดขึ้นนานจนแตกแยกในแนวดิ่งจะรักษาด้วยการถอนฟันซี่นั้นออกเพียงวิธีเดียว
ฟันร้าว เป็นลักษณะของฟันที่เกิดรอยแยกบริเวณด้านบดเคี้ยวของฟัน พบมากในผู้สูงอายุ เนื่องจากฟันเปราะง่าย
สาเหตุของฟันร้าว
พฤติกรรมชอบเคี้ยวอาหารแข็ง ๆ เช่น กระดูก น้ำแข็ง และเมล็ดถั่ว
การเคี้ยวโดนเม็ดกรวดโดยไม่ตั้งใจ
ลักษณะฟันที่สึกมาก จนทำให้ฟันสบกันสนิท
การนอนกัดฟัน
มีพฤติกรรมขบเน้นฟันโดยเฉพาะเวลาเครียด หรือเล่นกีฬา เช่น ชกมวย รักบี้
ฟันกรามที่รักษารากฟันแล้ว แต่ยังไม่ได้ครอบฟัน
อาการของฟันร้าว
มีอาการปวด
เสียวแปลบ ๆ เวลาเคี้ยวอาหาร หรือเมื่อสัมผัสกับความร้อน – ความเย็น
หากร้าวลึกมาก จะทำให้รู้สึกเสียวแปลบ จนไม่สามารถเคี้ยวอาหารได้
การรักษา
ระยะแรกที่รอยร้าวยังไม่ลึกมาก ทันตแพทย์จะรักษาด้วยการอุดฟัน
หากรอยร้าวลึกมากขึ้น ทันตแพทย์อาจต้องใช้ปลอกโลหะโอบรอบฟันเอาไว้
จนแน่ใจว่าฟันจะไม่เกิดการร้าวต่อ แล้วจึงบูรณะต่อด้วยการครอบฟัน
หากฟันร้าวลุกลามไปถึงโพรงประสาทฟัน ผู้ป่วยต้องรักษารากฟันร่วมกับการครอบฟัน
แต่ถ้าร้าวลึกไปถึงรากฟันหรือทำให้ฟันแยกจากกัน ทันตแพทย์จะถอนฟันซี่นั้นออก
ผู้ป่วยที่มีอาการเสียวฟัน จนทำให้เคี้ยวอาหารผิดปกติ ควรไปพบทันตแพทย์ เพื่อวินิจฉัยแยกโรดฟันร้าว จากโรคฟันผุ ฟันสึก หรือโรคของปลายรากฟัน
ฟันหน้าร้าวเป็นเส้น: ‘ฟันร้าว’ ภัยเงียบที่ทำให้คุณเสียวฟัน อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://bit.ly/43cwHxV